Home » CPR : การใช้ช่วยชีวิตคนด้วยมือเปล่า Update มาตรฐาน CPR ปี 2022
1.CPR การใช้ช่วยชีวิตคนด้วยมือเปล่า Update มาตรฐาน CPR ปี 2022 copy

CPR : การใช้ช่วยชีวิตคนด้วยมือเปล่า Update มาตรฐาน CPR ปี 2022

by Victor Hanson
439 views

ในการทำงานด้านอุตสาหกรรมหลายครั้งที่เรามักจะต้องพบเจอกับอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงหรือเหตุสุดวิสัยต่างๆ ที่อาจจะอันตรายถึงชีวิตเราจะเห็นได้เลยว่าในโรงงานบางแห่งจะมีการอบรมเกี่ยวกับ CPR อยู่บ่อยครั้ง เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกคน

ดังนั้น ในวันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณได้รู้จักเกี่ยวกับ CPR กระบวนการในการช่วยชีวิตที่สำคัญและคนทำงานทุกคนควรรู้ เพื่อที่จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดโอกาสการสูญเสียในอุบัติเหตุต่างๆ

CPR คือ?

CPR ย่อมาจาก Cardiopulmonary resuscitation หมายถึง กระบวนการช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังประสบกับภาวะหยุดหายใจชั่วขณะหัวใจใกล้หยุดเต้น หรือเต้นในอัตราที่อ่อนมากๆ ให้กลับมาอยู่ในสภาวะหายใจปกติอีกครั้ง ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทั้งในโรงเรียน โรงงานหรือภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ก็ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการ CPR อย่างมาก

จากผลสำรวจแล้ว พบว่า มากกว่า 50% ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน สามารถช่วยชีวิตได้ทันหากรอบตัวมีผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำ CPR เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วอาการหยุดเต้นของหัวใจ หรือภาวะหยุดหายใจ เช่น การจมน้ำ การขาดออกซิเจนเป็นเวลานานฮีทสโตรก ลมแดดซึ่งอาการนี้สามารถช่วยเหลือได้เพียงแค่ทำ CPR ให้ถูกขั้นตอน และทำอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการทำ CPR ต้องทำให้ได้ตามมาตรฐาน

ขั้นตอนการทำ CPR

ขั้นตอนการทำ CPR ที่ถูกต้อง และสามารถช่วยผู้ป่วยได้

  1. ตรวจสอบบริเวณโดยรอบว่าปลอดภัยไหม สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ไหม จากนั้นให้โทรเรียกหน่วยกู้ภัยหรือโทรเรียกทีมแพทย์ก่อนเข้าไปช่วยเหลือ
  2. หากสามารถเข้าไปได้จะต้องจัดเตรียมท่าของผู้ป่วยให้ผู้ป่วยนอนหงายสามารถใช้เสื้อหรือผ้าบางๆ รองหลังผู้ป่วยได้เพื่อป้องกันอาการเจ็บหลัง แต่ไม่ควรเป็นผ้าหนาๆ หรือนำหมอนมารองเพราะจะทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่สะดวกควรจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบกับพื้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  3. นั่งคุกเข่าข้างผู้ป่วย นำมือประสานกันและวางทับลงไปบริเวณตรงกลางของหน้าอกระดับเดียวกับหัวนมกดหน้าอกลงด้วยความลึกประมาณ 5-6 เซนติเมตร ไม่ควรมากกว่านี้ เพราะมีโอกาสส่งผลเสียต่อระบบอวัยวะภายในได้
  4. กดขึ้นลงด้วยอัตราเร็วประมาณ 100 – 120 ครั้งต่อนาที
  5. ระหว่างรอทีมแพทย์หรือหน่วยกู้ภัยให้กดหน้าอกไปเรื่อยๆ สามารถประกบปากผู้ป่วยแล้วเป่าลมเข้าปากผู้ป่วยประมาณ 10 ครั้งต่อนาที ห้ามเป่าติดกันเป่ายาวเกินไปหรือดูดปากผู้ป่วยเพราะจะทำให้ระบบหายใจผิดพลาด และก่อให้เกิดอันตรายได้
  6. ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าทีมช่วยเหลือจะมาถึงพยายามอย่าขยับตัวผู้ป่วยหรือเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยเพราะในสภาวะหมดสติกระดูกบริเวณคอไม่ได้ถูกเกร็งอยู่หากเคลื่อนย้ายผิดวิธีมีโอกาสทำให้กระดูกหักได้

โดยขั้นตอนเหล่านี้ จะต้องศึกษาให้ดีและมั่นใจแล้วว่าทำถูกวิธีเนื่องจากมีหลายๆ ครั้งที่การทำ CPR ไม่ถูกวิธีนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้น นายจ้างจะต้องจัดให้มีการอบรบเกี่ยวกับ CPR ทุกครั้งเพื่อให้ทุกคนเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการทำ CPR

  • ต้องวางมือให้อยู่บริเวณตรงกลางหน้าอกเท่านั้น ห้ามเอียงไปทางซ้ายหรือขวา เพราะบริเวณซ้ายและขวานั้นมีกระดูกซี่โครง รวมไปถึงหัวใจอยู่ การปั๊มหัวใจบริเวณนั้นมีโอกาสทำให้กระดูกซี่โครงหักได้ กรณีเลวร้ายสุดอาจจะถึงขั้นกระดูกทิ่มหัวใจได้เลย
  • การกดหน้าอกไม่จำเป็นต้องเร็ว ควรอยู่ในอัตราไม่เกิน 100 – 110 ครั้งต่อนาที แต่ต้องหนักแน่น แรง และสม่ำเสมอ
  • ในการกดแต่ละครั้ง จะต้องปล่อยออกมาจนกว่าอกจะคืนตัวเต็มที่ เพื่อให้หัวใจสูบฉีดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากกดอย่างรวดเร็วโดยไม่รอให้หน้าอกคลายตัว จะทำให้เลือดไปเลี้ยงตามอวัยวะต่างๆ ได้แบบไม่เต็มที่
  • จะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผ่านการอบรบมาก่อน เพราะหากไม่มีความรู้หรือทำผิดวิธีอาจจะมีอันตรายต่อผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้

สำหรับใครที่สนใจอยากจะสมัครเข้าร่วมการอบรม CPR ซึ่งประกอบไปด้วยการบรรยายสาธิตฝึกปฏิบัติสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถติดต่อได้ที่ 02-256-4041-2 หรือเว็บไซต์ www.training.redcross.or.th

logo phoenixchos

Mechanical เว็บไซต์รวมความรู้ที่คุณต้องการ มีความหลากหลายและประเด็นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้จริง

ติดต่อ

บทความ

@2023 – Designed and Developed by phoenixchos