Home » ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ต้องตรวจอะไรบ้าง มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ต้องตรวจอะไรบ้าง มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

by Victor Hanson
ตรวจสอบระบบไฟฟ้า

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การทำงานในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้นเต็มไปด้วยความอันตราย จากผลวิจัยพบว่ามากกว่าครึ่งของอุบัติเหตุ มักจะเกิดจากระบบไฟฟ้าที่ไม่ปลอดภัย ไม่มีการตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งนำไปสู่อันตรายจากการทำงาน ดังนั้นในปัจจุบันนี้ จึงมีกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับความปลอดภัยทางด้านไฟฟ้า รวมไปถึงการ ตรวจสอบระบบไฟฟ้า อยู่หลายข้อ วันนี้เราไปดูพร้อมกันว่า รายละเอียดเป็นอย่างไรบ้างที่คุณควรรู้และให้ความสำคัญ เพื่อที่จะป้องกันเหตุอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติงาน 

ตรวจสอบระบบไฟฟ้า มีอะไรบ้าง

ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ปัจจุบันนี้มีรายละเอียดมากมาย มากกว่า 100 ข้อ เนื่องจากการทำงานของไฟฟ้านั้นมีรายละเอียดที่ค่อนข้างเยอะ แต่ในวันนี้เราจะมาอธิบายให้คุณได้รู้จักกับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าแบบหลัก ๆ ที่ควรรู้ไว้ โดยมีดังนี้ 

 

ตรวจสภาพหม้อแปลงไฟฟ้า

 

ตรวจสอบระบบไฟฟ้าทั่วไป
ก่อนที่จะไปเริ่มลงในรายละเอียดเชิงลึก จะต้องเริ่มจากการตรวจสภาพทั่วไปของอุปกรณ์ไฟฟ้าก่อน โดยจะเป็นการตรวจแบบคร่าว ๆ เพื่อเช็คสภาพการทำงานในเบื้องต้น ผู้ตรวจสอบอาจจะเป็นผู้ที่มีความรู้อย่างง่าย ไม่ต้องเป็นช่างเทคนิคก็สามารถตรวจได้ การตรวจสอบในขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจเพียงแค่การเปิดใช้งานสามารถทำได้ปกติ เช่น สายไฟ เบรกเกอร์ ข้อต่อต่าง ๆ การระบายอากาศ แบตเตอรี่ โดยอย่าลืมชุดป้องกันด้วย

 

ตรวจสอบระบบไฟฟ้า

 

ตรวจสอบระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ต่าง ๆ

ในขั้นตอนนี้จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เชิงลึกในด้านไฟฟ้า เพราะจะต้อง ตรวจสอบระบบไฟฟ้า เพื่อหาจุดบกพร่องในการทำงาน ความผิดพลาดต่าง ๆ ของระบบ ความเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ วิเคราะห์ความผิดพลาดของระบบไฟฟ้าเพื่อหาทางซ่อมแซมและแก้ไข การตรวจสอบส่วนนี้ต้องการความแม่นยำและความชำนาญอย่างมาก เพราะจะต้องเข้าใจว่ามันผิดพลาดตรงไหน มีปัญหาตรงไหน และจัดทำวิธีการซ่อมแซมและแก้ไขอย่างถูกต้องเพื่อให้กลับมาใช้งานได้อย่างปกติ โดยหลัก ๆ จะมีการตรวจสอบตามชิ้นส่วนดังนี้ 

  • หม้อแปรงไฟฟ้ากำลัง ภายในหม้อแปรงมีส่วนประกอบมากมายที่จำเป็นต้องตรวจสอบ เพื่อให้ระบบไฟฟ้าโดยรวมทำงานได้อย่างปกติและไม่มีข้อผิดพลาด
  • ตู้สวิตช์หลัก หรือ ตู้เมนสวิตช์ 
  • แผงวงจรย่อย ๆ ตามพื้นที่ต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ระบบของสวิตช์ 
  • อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น พื้นที่ติดตั้ง บริเวณโดยรอบ การซ่อมแซม การแก้ไขเพิ่มเติม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการเก็บสายไฟและการติดตั้งระบบ 
  • ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เช่น หลอดไฟ โคมไฟ การติดตั้งระบบไฟเพื่อส่องสว่างต่าง ๆ
  • สรุปรวมการซ่อมแซม แก้ไข ปรับปรุง หรือการติดตั้งเพิ่มเติมในส่วนต่าง ๆ ที่จำเป็น 

กฎหมายการตรวจสอบระบบไฟฟ้า

 

กฎหมายเกี่ยวกับการ ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ที่คุณต้องรู้ 

จากกฎกระทรวงอุตสาหกรรม หัวข้อ กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ.2550 มีรายละเอียด ก็คือ ข้อ 5 นายจ้างหรือผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบและทดสอบเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญ และจะต้องมีเอกสารยืนยันทุกครั้ง 

จากกฎกระทรวงแรงงาน หัวข้อ กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 มีรายละเอียด ก็คือ ข้อ 12 นายจ้างหรือผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม จะต้องจัดให้มีการตัดตรวจสอบระบบไฟฟ้า และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัย และให้บุคคลตามมาตรา 9 หรือบุคคลที่มีใบอนุญาตตามมาตรา 11 เป็นผู้ตรวจสอบและบันทึกผล 

ทำไมเราต้อง ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ? 

  • เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ว่าจ้าง 
  • ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัย หรืออุบัติเหตุที่จะเกิดจากระบบไฟฟ้า 
  • ลดงบประมาณในการรับผิดชอบต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากระบบไฟฟ้า 
  • เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย 
  • เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับโรงงาน เพิ่มความมั่นใจให้แก่ลูกค้า 

สุดท้ายนี้ การ ตรวจสอบระบบไฟฟ้า คือสิ่งที่สำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่ง ในปัจจุบันพบว่าโรงงานในไทยมากกว่าครึ่งยังไม่ได้รับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทางเราแนะนำให้รีบจัดทำตามกระบวนการโดยด่วน เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคตนั่นเอง

Copyright @2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by phoenixchos