วสท คือ
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีชื่อย่อว่า วสท. ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ก่อนที่จะได้ก่อรูปองค์กรมาเป็นวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ในปี พ.ศ. 2447 ได้มีกลุ่มนายช่างชาวไทย และชาวต่างชาติประเทศที่ประกอบอาชีพทางช่างอยู่ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป และอเมริกา ได้พยายามก่อตั้งสมาคมทางการช่างขึ้นแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตลอด เพราะการช่างในสมัยนั้นยังไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร และยังไม่เห็นความจำเป็นในการดำเนินการ การบริหารของสมาคมนี้จึงได้ยุติลงในเวลาต่อมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 นักเรียนไทยกลุ่มหนึ่งที่ได้ไปศึกษาวิชาการก่อสร้างที่ประเทศอังกฤษ และกลับมาทำงานในประเทศไทย ได้เริ่มรวมตัวฟื้นฟูสมาคมสำหรับผู้ประกอบอาชีพทางช่างขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2471 นี้เอง ก็ได้ไปขอจดทะเบียนก่อตั้งสมาคมนายช่างขึ้นใหม่โดยใช้ชื่อว่า “สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม” ผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมนายช่างนี้ประกอบด้วย คุณพระเวชยันตร์รังสฤษดิ์ คุณพระชำนาญ คุณหลวงชำนิและคุณพระประกอบยันตรกิจ ในปี พ.ศ. 2478 นายช่างที่จบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ก่อตั้งสมาคมวิศวกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งในการร่วมมือทางวิชาชีพวิศวกรรมในหมู่สมาชิกด้วยกัน
ในปี พ.ศ. 2486 คุณพระประกอบยันตรกิจ ซึ่งเป็นเลขาธิการสมาคมนายช่างฯ ได้พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่ที่เป็นนักเรียนรถไฟที่จบการศึกษาจากต่างประเทศกลับมาเป็นนายช่างต่างก็แก่ตัวลงเกษียณราชการไปเป็นส่วนมาก ทำให้สมาชิกลดลง ขณะที่สมาคมวิศวกรรมฯ ซึ่งประกอบด้วยนายช่างที่จบทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น จึงเกิดความคิดว่าควรรวมสองสมาคมเป็นสมาคมเดียวกัน โดยมีรัฐบาลในสมัยนั้นเองก็มีความประสงค์ที่จะส่งเสริมอาชีพวิศวกรรมให้เจริญเป็นปึกแผ่น และจะออกพระราชบัญญัติวิศวกรรมเพื่อให้มีการควบคุมจัดการประกอบวิชาชีพกันเองในหมู่วิศวกร จึงได้มีการหารือกับกรรมการสมาคมวิศวกรรมฯ ซึ่งบางท่านเป็นกรรมการอยู่ในทั้งสองสมาคมได้ข้อตกลงที่ให้ต่างฝ่ายต่างเลิกสมาคมของตน และมารวมกันตั้งเป็นสมาคมใหม่คือ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งแล้วเสร็จ
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
กรรมการอำนวยการชุดแรกนั้น ท่านพลอากาศตรีมุนี มหาสันทนะเวชยันตร์รังสฤษฏ์ ได้รับเป็นประธานท่านแรกของ วสท. โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง ดังนี้
1. พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะเวชยันตร์รังสฤษฏ์
2. พระยาประกิตกลศาสตร์ (นายประกิต ร. กาญจนวนิชย์)
3. พระยาศัลยวิธานนิเทศ (พลตรี ศัลยวิธานนิเทศ อ.รักตะประจิต)
4. นาวาเอกพระจักรานุกรกิจ (นาวาเอก วงส์จักรานุกรกิจ สุจริตกุล ร.น.)
5. ม.จ. รัชดาภิเสก โสนกุล
6. พระพิจารณ์กลจักร (นาวาโท สวัสดิ์ พิจารน์กลจักร ร.น.)
7. พระเจริญวิศวกรรม (นายจเริน เชนะกุล)
8. หลวงรถรัฐวิจารณ์ (นายพุท รักตะประจิต)
9. หลวงวิเทตยยัตรกิจ (นายวิเทส บุนยคุปต์)
10. หลวงสุขวัฒนสุนทร (นายเล็ก สุขะวัธนะ)
11. ม.ร.ว. ระพีพันธ์ เกษมศรี
12. ม.ร.ว. สลับ ลดาวัลย์
13. หลวงบุรกรรมโกวิท (พันตรีล้อม บุรกัมโกวิท)
14. พระประกอบยันตรกิจ (นายโยน ใยประยูร)
15. พันตรี ควง อภัยวงศ์
16. พลอากาศตรี มหิดล หงสกุล
17. พลอากาศตรี โอบศิริ วิเศษสมิต
18. นายก้าน รัตนสาขา
19. นายประยงค์ กาญจนวิโรจน์
20. นายสวัสดิ์ อินทรัมพรรย์
21. นายอุทัย วุฒิกุล
22. นายฉัตร พุกกะมาน
23. นายทองดี มาริษสวรรค์
24. นายเลื่อน บิณฑสันต์
25. นายธง จำปีรัตน์
26. ม.ร.ว. ปรานเนาวศรี นวรัตน์
Presentation ความเป็นมา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ
- ตรวจระบบดับเพลิง ตรวจสอบระบบเครื่องสูบน้ำดับเเพลิง Fire pump
- หลักสูตร การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยด้วยเครื่องมือ JSA
- หลักสูตร การหยั่งรู้ระวังอันตรายเพื่อความปลอดภัย KYT
- หลักสูตร การขับขี่รถยกอย่างปลอดภัย และการบำรุงรักษา 12 ชั่วโมง
- หลักสูตร การติดตั้งและตรวจสอบนั่งร้านท่อประกอบ
- ISO 45001 คืออะไร
- หลักสูตรอบรมดับเพลิงขั้นสูง
- หลักสูตร การฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุของปั้นจั่น และผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น