Home » ข้อควรรู้การขึ้นทะเบียน จป ต่อกรมวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อควรรู้การขึ้นทะเบียน จป ต่อกรมวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ข้อควรรู้การขึ้นทะเบียน จป ต่อกรมวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

by Victor Hanson
24 views

ในปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ นายจ้างและองค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและปัญหาทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน  ทำให้เกิดตำแหน่งงาน เจ้าหน้าทีความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ขึ้น ซึ่งการที่จะทำงานตำแหน่งต้องผ่านการอบรมและการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานเข้าใจในหน้าที่และหลักการทำงานด้านความปอลดภัยตามมาตรฐาน สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานทุกคน

ความหมายและประเภทของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) เป็นบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบ วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายระดับตามความรับผิดชอบและความเชี่ยวชาญ ประเภทหลัก ๆ ของ จป. ได้แก่

  • จป. หัวหน้างาน ย่อมากจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
  • จป. บริหาร ย่อมากจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
  • จป. เทคนิค ย่อมากจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
  • จป. เทคนิคขั้นสูง ย่อมากจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
  • จป. วิชาชีพ ย่อมากจาก เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ

ซึ่งแต่ละระดับจะมีหน้าที่ในการทำงาน ด้านความปลอดภัยแตกต่างกันไป

ข้อกำหนดในการขึ้นทะเบียน จป

ตามกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565

นายจ้างต้องขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ ต่อ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด (จังหวัดที่ทำงาน) โดยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้:

  • ต้องแจ้งการแต่งตั้งตำแหน่งพนักงานเป็น จป ต่อกรมสวัสดิการฯ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้ง
  • เมื่อผ่านการอบรมแล้ว ให้นำเอกสาร พร้อมวุฒิบัตรยืนยันผ่านการอบรมไปขึ้นทะเบียน กับกรมสวัสดิการฯภายใน 30 วันนับตั้งแต่จบการอบรม
  • ต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบการขึ้นทะเบียน ได้แก่ สำเนาใบรับรองการอบรม/วุฒิบัตร , สำเนาบัตรประชาชน, เอกสารแต่งตั้ง, สำเนาวุฒิการศึกษา(กรณี ขึ้นทะเบียน จป.วิชาชีพ ระดับเทคนิค และเทคนิคชั้นสูงที่มีคุณสมบัติโดยสำเร็จการศึกษา ไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี/ปริญญาตรีด้านอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า)
  • หากมี จป ลาออก : ต้องแจ้งให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทราบภายใน 30 วัน นับจากวันที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานพ้นจากตำแหน่งหรือหน้าที่

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน จป

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน จป

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานสามารถแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอนดังนี้:

  1. เตรียมเอกสาร: นายจ้างต้องเตรียมเอกสารที่จำเป็นสำหรับการขึ้นทะเบียน เช่น สำเนาใบรับรองการอบรม/วุฒิบัตร , สำเนาบัตรประชาชน, เอกสารแต่งตั้ง, สำเนาวุฒิการศึกษา(กรณี ขึ้นทะเบียน จป.วิชาชีพ ระดับเทคนิค และเทคนิคชั้นสูงที่มีคุณสมบัติโดยสำเร็จการศึกษา ไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี/ปริญญาตรีด้านอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า)
  2. กรอกแบบฟอร์มการขึ้นทะเบียน: นายจ้างต้องกรอกแบบฟอร์มการขึ้นทะเบียนที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน >> ดาวน์โหลดเอกสาร
  3. ส่งเอกสารและแบบฟอร์ม: นายจ้างต้องส่งเอกสารและแบบฟอร์มการขึ้นทะเบียนไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภายในระยะเวลาที่กำหนด (30 วัน) ซึ่งการส่งเอกสารสามารถส่งได้ 3 ช่องทาง คือ ทางไปรษณีย์, ส่งออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์กรมสวัสดิการฯ และเดินทางส่งเอกสารที่สำนักงานด้วยตนเอง
  4. รอตรวจสอบและอนุมัติ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะทำการตรวจสอบเอกสารและข้อมูลที่นายจ้างส่งมา หากทุกอย่างครบถ้วนและถูกต้อง จะมีการอนุมัติการขึ้นทะเบียน

หากคุณต้องการจัดอบรม จป และยังสงสัยเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน จป วันนี้เรามีบริการพิเศษ คอร์สอบรม จป ทุกระดับ ลดราคา 40% พร้อมให้คำแนะนำการเตรียมเอกสาร และขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ >> อบรม จป

ปัญหาและอุปสรรคในการขึ้นทะเบียน

นายจ้างมือใหม่หลายๆคน อาจพบเจอปัญหาการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยปัญหาที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • ขาดความรู้และความเข้าใจในกระบวนการขึ้นทะเบียน: นายจ้างบางรายอาจขาดความรู้และความเข้าใจในกระบวนการขึ้นทะเบียน ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ
  • ขาดเอกสารและหลักฐานที่ครบถ้วน: การเตรียมเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นอาจเป็นอุปสรรคสำหรับบางองค์กร ที่อาจยังไม่เข้าว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง เอกสารบางตัวต้องเอามาจากไหน ทำให้มีเอกสารตกหล่นส่งผลต่อความล่าช้าในการอนุมัติ
  • การเปลี่ยนแปลงของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน: การเปลี่ยนแปลงของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้นายจ้างต้องทำการขึ้นทะเบียนและแจ้งการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ซึ่งอาจเป็นภาระเพิ่มเติม
  • ข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย : ในข้อนี้ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่ก่อตั้งมานานทำให้ชินกับกฎหมายเดิม ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการดำเนินงานเอกสารส่งผลต่อความล่าช้า

บทบาทและความสำคัญของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

บทบาทและความสำคัญของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานทุกคน บทบาทที่สำคัญของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยได้แก่

  1. ประเมินความเสี่ยง: ทำการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน รวมถึงการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานและการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อหาข้อบกพร่องหรือจุดเสี่ยงที่ต้องการการแก้ไข
  2. ให้คำแนะนำและเสนอแนะ: ให้คำแนะนำและเสนอแนะให้นายจ้างและพนักงานทราบถึงมาตรการที่ควรปฏิบัติ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและปัญหาทางสุขภาพ นอกจากนี้ยังเสนอแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อเพิ่มความปลอดภัย
  3. ฝึกอบรมและให้ความรู้: เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยจะทำการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่พนักงาน เกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และการปฏิบัติตัวในสถานการณ์ฉุกเฉิน
  4. ตรวจสอบและติดตามผล: ทำการตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการที่กำหนดมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  5. จัดทำรายงาน: ทำการจัดทำรายงานเกี่ยวกับสภาพความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน รวมถึงรายงานอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและดำเนินการแก้ไข

ประโยชน์การมีจป ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง

ประโยชน์การมีจป ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง

เมื่อ จป. ได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องเป็นการยืนยันให้มั่นใจว่า จป. คนนี้สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัย ส่งผลดีต่อองค์กรและพนักงาน ดังนี้

  1. ความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน: การมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญจะช่วยลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุและปัญหาทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน ส่งผลให้พนักงานทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดี
  2. การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ: การขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ลดความเสี่ยงของการถูกลงโทษหรือถูกเรียกเก็บค่าปรับจากหน่วยงานที่มีอำนาจในการตรวจสอบ
  3. การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน: สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีความสุขภาพจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน พนักงานที่รู้สึกปลอดภัยและมีสุขภาพดีจะมีความสามารถในการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
  4. การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร: องค์กรที่มีการดูแลความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานอย่างดีจะมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของลูกค้า พนักงาน และสังคม ส่งผลให้องค์กรได้รับการยอมรับและเชื่อถือ

สรุป

การขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเป็นขั้นตอน ที่กำหนดตามกฎหมายเพื่อยืนยันการปฏิบัติตามเงื่อนไขขององค์กร ที่ต้องมี จป แต่ละตำแหน่งตามกฎหมายกำหนด และเป็นการยืนยันว่า จป ที่จะมาทำงานมีทักาะเพียงพอในการทำงานจริง

นายจ้างและองค์กรต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามกระบวนการที่กำหนดและจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปยื่นขอขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ตามระยะเวลาที่กำหนด คือ 30 วัน นับตั้งแต่จบการอบรม

Related Posts

Phoenixchos เว็บไซต์รวมความรู้ที่คุณต้องการ มีความหลากหลายและประเด็นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้จริง

ติดต่อ

บทความ

@2024 – Designed and Developed by phoenixchos